TAKE A PEEK AT
PROGRAM HIGHLIGHTS
อัพเดทและเที่ยวชมงาน
แผ่นพับแผนที่เทศกาลอีสานสร้างสรรค์
ดาวโหลดแผ่นพับแผนที่เทศกาลเริ่มแล้ว! กับเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ปีนี้ เพราะเราขนความม่วน ความจ้วด กันมาแบบจัดเต็มทั้ง 9 วันภายใต้แนวคิด Regional (Enlight) sation เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมืองมาเลาะเทศกาลฯ นำกัน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 9 เมษายนนี้ ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น. กับกิจกรรมกว่า 200 โปรแกรม ใน 2 ย่าน 5 พื้นที่ ย่านกังสดาลTCDC Khon Kaenสวนสาธารณะบึงหนองแวงตราชู ย่านศรีจันทร์ชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดีพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ตึกแก่น Khon Kaen Innovation Centreแล้วมาตื่มความม่วนให้ลืมความเมื่อยไปนำกันจ้า
26 เม.ย. BBBB
2 ย่าน 5 พื้นที่หลักของงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566
ชวนเยี่ยม 2 ย่าน 5 พื้นที่หลักของงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 และ Partner Venue ภายใต้ธีม Regional (Enlight) sation เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมือง การันตีความจ้วดแบบโพดโพด้วยความสร้างสรรค์ 📍 1. ย่านกังสดาล1.1 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น – ตื่มความฮู้และความม่วน พร้อมเติมสีสันให้กับย่านกังสดาลด้วยหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ อัดแน่นด้วย Exhibition และ Workshop อวลกลิ่นอีสานที่รอให้คุณเข้าร่วม1.2 สวนสาธารณะบึงหนองแวงตราชู – ตื่มบ้านตื่มเมือง พื้นที่ส่วนรวมที่ทุกคนคุ้นเคยกลายเป็น TownShare สำหรับการแชร์ไอเดียพัฒนาเมืองให้เต็ม 📍 2. ย่านศรีจันทร์2.1 ตึกแก่น (Kaen Innovation Center) – ตื่มเมืองสร้างสรรค์ ตื่มพลังให้อีสาน พื้นที่ที่จะพาไปพบกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ผสานเข้ากับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่ลูกอีสานภูมิใจนำเสนอ2.2 ชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดี – ตื่มความเก๋กับย่านเก่าเล่าใหม่ เติมสีสันให้กับย่านด้วยความสร้างสรรค์ อัดแน่นด้วยงาน Art & Design แบบเน้นๆ2.3 พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ – ตื่มความม่วนแบบจ้วด ๆ ทั้งแสง สี เสียง ไปกับงานดนตรีจากหลากหลายศิลปินลูกอีสาน📍 Partner VenueP1 Columbo Craft VillageP2 Kaen / Casual Fine DiningP3 Ad Lib Khon KaenP4 AVANI Khon Kaen HotelP5 มทร. อีสานP6 Central KhonkaenP7 The wall khonkaenP8 family spaceP9 ห้างเซ็นโทซ่า ขอนแก่นP10 (สาขากลางเมือง)✨ร่วมตื่มปากตื่มท้อง ตื่มช่องตื่มทาง ตื่มตรอกตื่มย่าน และตื่มพี่ตื่มน้องกันได้ที่ งานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ในวันที่ 1 – 9 เมษายา 2566 เวลา 11:00 น. – 22:00 น. 🤩 **** Link : Mapติดตามความเคลื่อนไหว / Follow ushttps://isancreativefestival.com/FB/IG: isancreativefestivalLine: @isancf#ISANCF2023#ISANCREATIVEFESTIVAL
16 มี.ค. BBBB
“ข้าว” พระเอกบนโต๊ะอาหาร รู้จักข้าวอีสานด้วยมุมมองใหม่
หากจะพูดถึงวัฒนธรรมอาหารที่โดดเด่นของคนไทย แน่นอนว่าต้องยกให้ “ข้าว” เป็นหนึ่งในอาหารจานหลักที่คนทุกเพศทุกวัยต่างบริโภคกันอยู่ทุกวันแต่ทุกคนทราบกันไหมว่าข้าวที่มีลักษณะเป็นเมล็ดสีขาวเหมือน ๆ กัน แท้จริงแล้วมีความหลากหลายเฉพาะตัว ทั้งลักษณะภายนอก กลิ่น รสชาติ และการจับตัว ซึ่งทั่วโลกมีข้าวอยู่มากถึงกว่า 120,000 สายพันธุ์ เฉพาะในประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากกว่า 5,000 สายพันธุ์ ! ภูมิภาคที่มีการปลูกข้าวมากที่สุดก็คือ “ภาคอีสาน” สามารถตื่มปากตื่มท้องให้กับคนทั้งประเทศ โดยภาคอีสานมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งเชื่อมโยงกับวิถีการเพาะปลูกของชุมชนและบอกเล่าภูมิปัญญาที่สั่งสมมาแต่อดีตปัจจุบันชาวนาไทยอีสานได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวอีสาน ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและรับประทานได้อย่างอร่อยมากขึ้น เช่น ข้าวเจ้าหอมเวสสันตะระ ข้าวเหนียวหอมขาววิสุทธิ์ ข้าวเหนียวดำสีลาภรณ์ ข้าวเหนียวดำอสิตะ ข้าวเจ้าหอมเพชรราตรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกิดการปลูกข้าวแบบอินทรีย์เพื่อเป็นทางเลือกให้กับชาวไทยที่มีข้าวเป็นพระเอกหลักบนโต๊ะอาหาร มาช่วยตื่มปากตื่มท้องให้กับทุกคน หากท่านใดที่ต้องการตื่มความฮู้ ตื่มมุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องข้าว ๆ ขอแอบกระซิบว่าในเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2566 มีการนำข้อมูลเรื่องข้าวออกมาเล่าได้อย่างน่าสนใจ ผ่านนิทรรศการชิมข้าวอีสาน หรือ Isan Rice Flavors พร้อมเปิดให้ผู้เข้าชมงานร่วมกิจกรรมชิมข้าวอีสาน เพื่อพิสูจน์ความลับที่ซ่อนอยู่ในรสชาติข้าว ในวันและเวลาดังนี้ 1 เมษายน 2566 เวลา 19.00 – 21.00 น. 2, 8, 9 เมษายน 2566 เวลา 16.00 – 19.00 น. สถานที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น (TCDC Khon Kaen)ติดตามความเคลื่อนไหว / Follow ushttps://isancreativefestival.com/FB/IG: isancreativefestivalLine: @isancf#ISANCF2023#isancreativefestival#เทศกาลอีสานสร้างสรรค์
01 มี.ค. BBBB
เกร็ดความรู้: สำเนียงเสียงอีสาน
ตื่มฮักตื่มแพง สำเนียงเสียงอีสาน ความหลากหลายที่เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว คนจากหลากหลายพื้นที่ ความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ และการควบรวมกันกลายเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าภาคอีสาน ทำให้พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายในเรื่องของการสื่อสาร วิธีการพูดและสำเนียงภาษาอีสานจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนท้องถิ่นสามารถเข้าใจและระบุได้ว่าผู้พูดนั้นเติบโตและอยู่อาศัยในพื้นที่ใด ด้วยการตั้งรกรากในพื้นที่ราบสูง เช่น แอ่งโคราช หรือแอ่งสกลนคร รวมถึงการอพยพของผู้คนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง ทำให้ภาคอีสานมีผู้คนมากมายหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกราก จนทำให้เกิดภาษาและสำเนียงท้องถิ่นมากกว่า 16 สำเนียงตามพื้นที่อยู่อาศัย และสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงหลัก ๆ 8 สำเนียง คือ สําเนียงขอนแก่น (KHON KAEN ACCENT) หรือมักเรียกกันว่า สำเนียงลาวอีสาน เป็นสำเนียงที่คุ้นหูคนทั่วไปมากที่สุด เพราะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย และนครราชสีมา จนผู้คนนับว่าเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน สําเนียงร้อยเอ็ด (ROI-ET ACCENT) มีลักษณะคล้ายคลึงกับสำเนียงขอนแก่น แต่จะมีลักษณะการพูดที่กระชับมากกว่า สําเนียงชัยภูมิ (CHAIYAPHUM ACCENT) เป็นสำเนียงท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพื้นที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และแพร่หลายมายังประเทศไทย ใช้ในบางเขตพื้นที่ของจังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย ขอนแก่น ยโสธร ศรีสะเกษ และนครราชสีมา จะมีสำเนียงที่มีการพูดแบบเนิบ ๆ มีการพูดช้ากว่าสำเนียงอื่น ๆ เพราะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไท อีกทั้งยังมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนการใช้คำพื้นเมือง ทำให้เป็นสำเนียงที่มีความคล้ายกับภาษาไทยที่ผู้คนคุ้นชิ้นนั่นเอง สําเนียงเลย (LOEI ACCENT) หรือสำเนียงลาวเหนือ เป็นสำเนียงที่ได้รับอิทธิพลมาจากพื้นที่หลวงพระบาง ประเทศลาว มีการใช้สำเนียงลาวเหนือนี้ในเขตพื้นที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น หนองคาย และอุดรธานี จะมีการใช้เสียงสูงต่ำ และมีความเหน่อ ทำให้เป็นสำเนียงที่โดดเด่น คล้ายกับการพูดของผู้ที่อยู่อาศัยในกลุ่มจังหวัดสุพรรณบุรี สําเนียงอุบลฯ (UBON ACCENT) พบว่ามีการใช้อย่างทั่วไปในเขตพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา โดยผู้ที่ใช้สำเนียงนี้มักจะพูดเร็ว และมีสำเนียงที่ค่อนข้างแข็งกร้าว เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเขมรร่วมด้วย ใช้ในหลายพื้นที่ทั้งจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และสุรินทร์ สําเนียงศรีสะเกษ (SISAKET ACCENT) จะมีลักษณะที่คล้ายกับสำเนียงอุบลฯ แต่จะมีการใช้เสียงสูงต่ำที่แตกต่างออกไป โดยสำเนียงศรีสะเกษจะมีเสียงที่สูงกว่าสำเนียงอุบลฯ สําเนียงภูไท (PHOOTAI ACCENT) มักใช้ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม จะลงท้ายประโยคด้วยหางเสียงยาว อีกทั้งสำเนียงภูไทยป็นสำเนียงที่พูดที่สืบทอดกันมาอย่างปากต่อปาก และมีการใช้งานที่ลดลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้มีการรณรงค์เพื่อรักษาสำเนียงภูไทไว้ สําเนียงญ้อ (YUO ACCENT) เป็นสำเนียงที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาเวียดนาม มีการใช้เสียงสูง และอ่อนหวาน คล้ายกับสำเนียงเลย แต่จะมีการใช้สระและวรรณยุกต์ที่ต่างออกไป และแม้ว่าพื้นที่ภาคอีสานจะมีความแตกต่างกันเรื่องของสำเนียงของภาษา แต่ชาวอีสานก็ยังฮักแพงตุ้มโฮมเป็นพี่น้องกันในภูมิภาคอย่างแน่นแฟ้น ไม่ว่าจะมีการย้ายถิ่นหรือขยับขยายพื้นที่ไปยังภูมิภาคใดของประเทศไทย ความเป็นพี่น้องของคนอีสานก็ยังเหนียวแน่น พร้อมที่จะต้อนรับคนบ้านเดียวกันด้วยความยินดีเฉกเช่นเดิม หากใครสนใจความเป็นอีสาน ไม่ว่าจะในเรื่องของภาษาหรือสำเนียงท้องถิ่น สามารถมาพบกันได้ใน เดิน ตื่ม เมือง ตอน อีสาน (อยู่) ในสาย (CONNECTING THE DOT: ISAN PHONE BOOTH) หนึ่งในกิจกรรมภายใต้งานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ในธีม “Regional (enlight)sation #เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมือง” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1-9 เมษายนนี้ ที่จังหวัดขอนแก่น แล้วเจอกัน!ติดตามความเคลื่อนไหว / Follow ushttps://isancreativefestival.com/FB/IG: isancreativefestivalLine: @isancf#ISANCF2023#ISANCREATIVEFESTIVAL
28 ก.พ. BBBB