สืบแซบตำบักหุ่ง (Somtam Decoded Exhibition)
สืบแซบตำบักหุ่ง (Somtam Decoded Exhibition)
นิทรรศการสืบแซ่บตําบักหุ่ง (Somtam decoded exhibition) หนึ่งในนิทรรศการเล่าเรื่องเมนูอาหารที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารอีสานมาอย่างยาวนาน จากจานอาหารพื้นบ้านง่ายๆ ที่ทํากินในครัวเรือน กลายเป็นจานอาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของอุตสาหกรรมอาหารอีสานที่ดังไกลไปยังอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก ด้วยรสชาติจัดจ้าน รสเผ็ดจากพริก รสเปรี้ยวจากมะนาวและมะกอก รสเค็มจากปลาร้า รสหวานจากน้ำตาล และความกรุบกรอบของมะละกอ ทําให้ส้มตํากลายเป็นเมนูโปรดของใครหลายคนได้ไม่ยาก จุดเริ่มต้นของการถอดรหัสความเป็นมาเป็นไปในครั้งนี้ จึงเริ่มต้นจาก “เส้นทางสายส้มตํา” หรือ Somtam road ที่จะแบ่งเนื้อหานิทรรศการออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. R มาจากคําว่า Root รากเหง้าและจุดเริ่มต้นของส้มตํา
2. O มาจากคําว่า Omnipresent การปรากฎตัวอยู่ทุกที่ของส้มตํา
3. A มาจากคําว่า Appetite ส้มตํากินแล้วน้ําลายสอ
4. D มาจากคําว่า Diversity อยากกินอะไรก็ตําได้
.
เนื้อหาแต่ละส่วนของนิทรรศการจะพาผู้ชมเข้าไปค้นหาคําตอบในวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์พลวัตของผู้คนและความหลากหลายของวัตถุดิบ ปัจจัยและบริบทต่างๆ ที่ทําให้เมนูพื้นบ้านอีสาน กลายเป็นเมนูอาหารที่สามารถเติบโตไปไกลยังดวงจันทร์ได้ในนิทรรศการจึงประกอบไปด้วยเนื้อหาที่พาไปท่องอดีตหรือ จุดเริ่มต้นของ “ตําส้ม” กาลเวลาของปัจจุบัน “ส้มตํา” ความลื่นไหลของวัฒนธรรมอาหารในเมนูนี้ไปจนถึงอนาคตและการต่อยอดทางธุรกิจของอาหารรสแซ่บจานนี้อีกด้วย
.
กิจกรรมในช่วงงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ (Isan Creative Festival) 2021
1. ตําส้ม = ส้มตํา วันที่ 7 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 - 16.00 น.
เวิร์คช็อปครั้งที่ 1 จะเป็นสร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับส้มตํา คือ ส้มตํา = ตําส้ม หรือตําที่มีรสเปรี้ยวโดยจะมีวิทยากรที่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์มาร่วมบอกเล่าและลงมือปฏิบัติ ที่จะมีวิทยากรรับเชิญพิเศษ คือ กลุ่มแม่บ้าน บ้านสงเปือย มาร่วมแบ่งปันสูตรและตําในสมัยโบราณ จากวัตถุดิบที่แตกต่างจากปัจจุบัน ที่มีการรับประทานอาหารในลักษณะคล้ายกับส้มตําในปัจจุบัน โดยเล่าผ่านวัตุดิบ ในสมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงวิธีปรุง วิถีการทานอาหารเป็นยา ที่เป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการปรุงอาหารของชาวอีสาน
2. ส้มตําในปัจจุบัน วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 – 16.00 น.
เวิร์คช็อปครั้งที่ 2 ร่วมเรียนรู้ความหลากหลายของส้มตําด้วยการทําตําตามใจชอบจากวัตถุดิบที่มีอยู่เพื่อลองปรับรสหวาน เค็ม เปรี้ยวให้ถูกใจผู้ตํา เพราะส้มตําไม่มีผิดมีถูก ไม่มีบรรทัดฐานทางรสชาติ ความอร่อย จึงเป็นของผู้ทําและผู้ทาน เพื่อลองค้นหารสชาติใหม่ๆ ในเมนูขึ้นมา