ท่านกำลังเยี่ยมชมเทศกาลที่ผ่านมา เยี่ยมชมเทศกาลปัจจุบัน

ARCHITECTURE TOUR: Old and New: Nostalgia through architecture

เผยแพร่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว

“เก่าผสานใหม่ ความคำนึงผ่านงานสถาปัตยกรรม”

งานสถาปัตยกรรม ถือเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเมืองโบราณนับพันปี หรือเมืองใหม่อายุร้อยปี เรามักได้เรียนรู้เรื่องราวจากอดีตผ่านงานสถาปัตย์เสมอ ตั้งแต่วัดวาอาราม สถานที่ราชการ อาคารร้านค้า ไปจนถึงบ้านพักอาศัย และพัฒนาการของเมืองขอนแก่น ในช่วงนับร้อยปีมานี้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา และย้อนเวลากลับไปทบทวนถึงวันวาน ว่ามีเรื่องเล่าขานใดบ้างที่ถูกส่งผ่านมากับงานสถาปัตยกรรมโดยรอบของเมือง

วันนี้เราจึงขอชวนทุกคนออกไปนั่ง “รถสองแถว” ยานพาหนะคู่เมืองขอนแก่น ไปเที่ยวชมสถาปัตยกรรมในเมืองใหญ่แห่งนี้ โดยเฉพาะย่านศรีจันทร์และถนนรื่นรมย์ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองในอดีต และกำลังพลิกฟื้นคืนมาในปัจจุบันเพื่อจะได้เห็นถึงพัฒนาการของเมืองขอนแก่นที่เริ่มเฟื่องฟูด้วยความศิวิไลซ์ ตั้งแต่ช่วง พ.ศ 2480 เป็นต้นไป ผ่านตึกรามบ้านช่องและอาคารสถานที่ต่างๆ ด้วยสายตาของนักออกแบบบ้าน
นำเส้นทางโดย (ว่าที่)สถาปนิกจากรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาคารบ้านรถไฟ (พ.ศ.2500)

“อาคารบ้านรถไฟ”เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากบ้านสไตล์โคโลเนี่ยล (Colonial Style) และเป็นแบบบ้านที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างบ้านพักรถไฟทั่วประเทศ
การมาถึงของ “สถานีรถไฟขอนแก่น” เกิดขึ้นจากอิทธิพลด้านเศรษฐกิจของจังหวัด
โดยเมื่อปี พ.ศ.2500 ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) ได้เข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองขอนแก่น ส่งผลให้ขอนแก่นกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภาคอีสาน มีการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ด้วยการสร้างสถานีรถไฟขึ้นที่นี่ พร้อมกับบ้านพักสำหรับบุคลากรของการรถไฟไทย ถือได้ว่าช่วงนั้น คือ ยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งของเมืองขอนแก่น ส่งผลอาคารชุดบ้านรถไฟนี้มีอิทธิพลกับอาคารบ้านเรือน ที่มีรูปแบบเป็นบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ในยุคถัดมา

พระธรรมขันต์โอสถ แผนกโรงพิมพ์ (พ.ศ.2481) – The Wall (ปัจจุบัน)

“THE WALL” เป็น Community mall แห่งใหม่ของจังหวัดขอนแก่น
คุณเอิร์ธเจ้าของพื้นที่ เล่าว่า เมื่อแรกเริ่มพระธรรมขันต์คือธุรกิจขายยาแผนโบราณ ก่อนจะสร้างโรงพิมพ์พระธรรมขันต์ขึ้นมาเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ยา เพื่อเอื้อหนุนกิจการขายยา
แต่เมื่อกระแสโลกเปลี่ยน ธุรกิจย่อมเปลี่ยน ธุรกิจยาแผนโบราณและงานสิ่งพิมพ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก คุณเอิร์ธจึงผุดโปรเจค ปรับเปลี่ยนการใช้งานอาคารโรงพิมพ์เก่าให้เป็นสถานที่สาธารณะ เพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนรุ่นใหม่ ทำให้สถานที่นี้มีชีวิตชีวามากขึ้น ซึ่งด้านในร้านค้าของโครงการ ก็ยังคงรักษาโรงพิมพ์อันเก่าแก่ไว้ด้านใน
ภายในพื้นที่โครงการ The Wall มีการวางผังโครงการให้สถานที่นี้มีความน่าสนใจทางสถาปัตยกรรม ใช้วัสดุดั้งเดิม ของเก่าในการตกแต่ง มีจุดถ่ายรูปชิคๆ อาคารเท่ๆ ภาพวาด Graffiti บนผนัง ที่นำเสนอภาพชีวิตของคนในละแวกร้านค้าไว้ กลายเป็นสถานที่แห่งความทรงจำแห่งหนึ่งของขอนแก่น

Dot Limited – ด็อต ลิมิเต็ด (พ.ศ.2494)

แก่อายุเกินครึ่งศตวรรษได้ถูกแปลงโฉมเป็นร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคแบบรีฟิล (Refill) และอุปกรณ์เครื่องใช้รักษ์โลก ตามแนวคิด Zero Waste นามว่า “Dot Limited” – ด็อต ลิมิเต็ด
ในแง่ของสถาปัตยกรรม ร้านDot Limted ได้ปรับสร้างอาคารเก่าจากวัสดุเดิม แทนการทำร้านจากการสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโลก และเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างทางอ้อมตัวอาคารของร้านยังคงตามรูปแบบอาคารร้านค้าในสมัย พ.ศ. 2500 โดยตัวอาคารเป็นไม้ หลังคาสังกะสี และมีระเบียงด้านบน ใช้รูปลักษณ์จากวันวานยืนโดดเด่นท่ามกลางเมืองสมัยปัจจุบัน

 

โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล (พ.ศ.2513)

โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล โรงแรมลับย่านถนนศรีจันทร์ ตั้งอยู่กลางตัวเมืองขอนแก่น เป็นโรงแรมแบบยืนเดี่ยว​ (Stand Alone) มีชื่อเสียงเป็นลำดับต้นๆของเมืองขอนแก่น โรงแรมแห่งนี้ถูกออกแบบการสร้างให้เป็นสถาปัตยกรรมที่ดูทันสมัย เพื่อรองรับแขกบ้านแขกเมืองที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ในช่วงเวลานั้น
ลักษณะที่โดดเด่นของโรงแรมแกรนด์โฮเต็ล ก็คือ มีการออกแบบโดยใช้เส้นสายรูปและทรงเรขาคณิตผสานกัน ทั้งเส้นตรงประกอบกับเส้นโค้ง ผนังด้านนอกมีการออกแบบให้กันแดดกันฝนได้ กลายเป็นองค์ประกอบที่แสดงเอกลักษณ์ของตัวอาคาร สะท้อนความงามที่เกิดจากแสงและเงาตามแบบอย่างอาคารโมเดิร์น

นอกจากนี้ ด้านหน้าอาคารทั้งสองข้างยังมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามอย่าง “บันไดเวียน” สำหรับสัญจรขึ้นลงอาคาร ที่จะพบเห็นได้ก็แต่ตามอาคารหรูหราในสมัยนั้น

 

ธนาคารกรุงเทพ สาขาขอนแก่น (2500 – ปัจจุบัน)

จากการที่เมืองขอนแก่นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน มีสถาบันการเงินจำนวนมาก มาตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางการค้าขึ้นในเมืองแห่งนี้ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารสถาบันการเงินในยุคนั้นจึงมีความทันสมัยและผสมผสานรูปแบบอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากแนวทางตะวันตก คือ สถานปัตยกรรมคลาสสิค ที่เน้นความสมมาตรเท่ากันทั้งสองข้าง ประกอบกับมีลักษณะระเบียงเป็นเสาลอยตั้งอยู่บนฐานที่ยกสูงและหน้าจั่วสามเหลี่ยมด้านหน้าของอาคารซึ่งแสดงถึงความมั่นคง และสง่างาม

 

ร้านกาแฟรักอัน (2498)

ตัวอาคารดั้งเดิมของร้านกาแฟรักอัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2498 เป็นอาคารไม้ครึ่งปูนครึ่งไม้ และได้รับการปรับเปลี่ยนการใช้งาน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่
ซึ่งคำว่า รัก (樂) แปลว่า สนุกสนาน ร่าเริงแจ่มใส คำว่า อัน (安) แปลว่า ปลอดภัยและสบายใจ “รักอัน” จึงกลายเป็นชื่อร้านค้าที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองขอนแก่น ภายในร้านได้บรรยากาศบ้านไม้เก่า รูปแบบอาคารร้านค้าในยุคปีพ.ศ.2490 – 2510 เฟอร์นิเจอร์ภายในร้านส่วนใหญ่ยังคงเป็นของเก่าดั้งเดิม ที่เจ้าของร้านตั้งใจเอามาให้ทุกคนได้ชม และมีการนำวัสดุดั้งเดิมมาใช้ในการตกแต่ง เช่น กระจกสีโบราณ การฉาบผนังปูนผสมสีซึ่งเป็นวิธีการก่อสร้างที่นิยมทำในช่วงเวลานั้น เป็นต้น

เวลาการเดินทาง

7.30 น.

นัดรวมพล แจกเอกสาร บันทึกและ แผนที่สถานที่แก่ผู้ร่วมงาน
อธิบายทำความเข้าใจกับเส้นทางที่เราจะเดินทางไป

7.45 น.

รถออกเดินทาง (ใช้เวลาเดินทาง15 นาที) TCDC – ในเมือง

8.00 น.

จุดStart ศาลหลักเมือง (นั่งรถฟังบรรยาย ถึงสถานที่ต่างๆที่รถวิ่งผ่าน)
1. ศาลหลักเมือง
2.รักอันคอฟฟี่
– ทำความเข้าใจของเก่าความหมาย และวัตถุประสงค์
– ประวัติความเป็นมาของย่านชุมชน
– วิเคราะห์เชิงรูปแบบสถาปัตยกรรม

8.30 น.

3.บ้านพักรถไฟ
– ความเป็นมาเชื่อมโยงความเป็นมาต่อจากรักอัน

9.00 น.

รถสองแถวแวะจอดที่ The Wall
4. The wall (30นาที)
– อธิบายร้านเภสัช ที่มีความเชื่อมโยงกับโรงพิมพ์พระธรรมขันต์
– อธิบายในที่ไปที่มาจนเกิด The wall และแง่ของงานสถาปัตยกรรม
– ช่วงเวลาพักเบรคอาหารและเครื่องดื่ม
– นักท่องเที่ยวเดินเล่นตามอัธยาศัย 15 นาที

9.30 น.

นั่งรถสองแถมมาแวะยังร้าน Dot Limited
5. DOT limited ทำกิจกรรมจากทางร้าน
– เล่าเรื่องรูปแบบอาคารในระหว่างเดินรถ
– เข้าชมร้าน
– เวิร์คช็อป “eco printing” พิมพ์ผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ
*มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 300 บาท/คน
10.20 6. 2499 café + ตึกแถวย่านศรีจันทร์ *ทางผ่าน
– เล่าเรื่องการตกแต่งร้าน การตกแต่งภาพลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม

10.30 น.

แวะชมโรงแรมร้างในย่านศรีจันทร์ โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล
– อธิบายในแง่ของงานสถาปัตยกรรม 10 นาที
– workshop การถ่ายรูป 30 นาที(มือถือ)
** พิเศษกิจกรรมเวิร์คช็อป ถ่ายภาพ เฉพาะในช่วงเทศกาล ISAN CREATIVE FESTIVAL 2021เท่านั้น **

11.10 น.

นั่งรถสองแถวชมเมืองกันต่อ เพื่อชี้จุดสถานที่ๆมีงานสถาปัตยกรรมโดดเด่น
8. ธนาคารกรุงเทพ นั่งรถ

11.20 น.

มายังจุดจอดสถานีสุดท้ายของทริป
9. ชมงานสถาปัตยกรรมของร้านรักอัน และร่วมให้กำลังใจแก่งานแสดงผลงานของนักศึกษา ณ​ ภายในบริเวณร้านรักอันนั่นเอง

 

 

แชร์