Baan Chiang
เผยแพร่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
ไปอยู่ไปกิน กับคนบ้านเชียง: Living at Ban Chiang
แนะนำแผนท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน โดย วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง
ทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวแบบเที่ยวคนเดียวหรือเป็นกลุ่มขนาดเล็ก (6 คนขึ้นไป)
ท่องเที่ยวชุมชน.. ไปอยู่กับ “คนบ้านเชียง”
เรียนรู้ศิลปะปั้นภาชนะดินเผาลายเขียนสีจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ลองย้อมผ้าโคลนคราม ภูมิปัญญามัดย้อมผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ ศึกษาแหล่งอารยะ “พิพิธภัณ์บ้านเชียง และ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง วัดโพธิ์ศรี”
อยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน กับกิจกรรมทำอาหารพื้นถิ่นร่วมกับครอบครัวเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์
กินอิ่ม-นอนหลับในห้องพักมาตรฐานโฮมเตย์ไทย ตื่นเช้าใส่บาตรหน้าบ้าน ก่อนจะชิมช็อปกระจายกับถนนคนเดินสายวัฒนธรรม และรับของที่ระลึกจากบ้านเชียง กลับบ้านด้วยความสุข
Day 1:
10.00 น. เดินทางถึงบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี แหล่งอารยธรรมโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์
และเข้าพักกับ “วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง” โดยมีเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์รอต้อนรับนักท่องเที่ยว
แล้วเก็บของสัมภาระเข้าที่พัก ภายในบ้านพักโฮมสเตย์ บ้านไม้หลังใหญ่มีชานบ้านกว้างขวาง ในรูปแบบของสถาปัตยกรรม “บ้านไทพวน” อันเป็นชาติพันธุ์ของคนบ้านเชียง
10.30 น. เดินชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง และ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง วัดโพธิ์ศรีใน” แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโบราณ และเป็นมรดกโลก
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง วัดโพธิ์ศรีใน จัดแสดงหลุมขุดค้นจริงในรูปแบบพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง แห่งแรกของประเทศไทย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบในพื้นที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในแสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพรวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบร่วมกับโครงกระดูก มีอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประมาณ ๕,๖๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
ข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกฝังร่วมกับหลุมศพตามความเชื่อของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ และถูกค้นพบมากที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็คือ “ภาชนะหม้อดินเผา”
นำมาซึ่ง “หม้อดินเผาลายเขียนสี” อันเป็นเอกลักษณ์ของงานฝีมือบ้านเชียง
11.30 น. มาร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อป ชมฝีมือการทำอาหารเมนู “ข้าวผัดข่าแจ่วหอมหวาน” จากแม่ๆของ “เฮือนอาร์ โฮมสเตย์”
12.00 น. และทานมื้อเที่ยงด้วยเมนู “ข้าวผัดแจ่วข่าหอม” และ “ซ้วนเส้น” ซึ่งทั้งสองเมนูนี้ คือ อัตลักษณ์ทางอาหารของบ้านเชียง เป็นเมนูที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบท้องถิ่นและฝีมือการทำอาหารชั้นเลิศของคนบ้านเชียง
13.00 น. หลังจากทานมื้อเที่ยงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงงานฝีมือ
โดยเริ่มจากการไปเยือน “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปั้นหม้อเขียนสี” เพื่อชมสาธิตและร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อป การปั้นหม้อ และ การเขียนสีบนภาชนะดินเผา ด้วยลายเขียนสียุคก่อนประวัติศาตร์
กิจกรรมของกลุ่มนี้จะแยกรายการเป็นรายกิจกรรม คือ หากสนใจเรื่องงานเขียนสี ลวดลายจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็สามารถแจ้งเรียนเฉพาะเรื่องนี้
แต่หากใครสนใจเรื่องงานปั้นหม้อ ก็สามารถเลือกทำกิจกรรมปั้นหม้อเท่านั้น
และถ้าสนใจทั้งสองกิจกรรม ก็แจ้งเหมาไปเลย
14.30 น. ตระเวนเที่ยวเล่นในบ้านเชียงกันพอสมควรแล้ว ก็นั่งรถซาเล้งพ่วงรับลมเย็นๆ อากาศบริสุทธิ์ของชุมชนในพื้นที่ตำบลบ้านเชียง เพื่อไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง นั่นคือ บ้านดงเย็น
ที่นี่มีแหล่ง “โคลนดินดำ” ซึ่งถูกนำมาปั้นหม้อ แต่นอกเหนือจากปั้นหม้อแล้ว ก็ยังมีการนำโคลนมาย้อมผ้า จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ “ผ้าย้อมโคลนคราม”
นอกจากกลุ่มงานผ้าโคลนคราม ที่นี่ก็ยังมีกลุ่มงานจักรสานที่มีฝีมือชั้นยอดไม่ต่างกัน
ห้ามพลาด! พักเบรคชิม “ชาข่าเขียว” และ “ขนมปาด” ของว่างขึ้นชื่อของชุมชนดงเย็น
16.30 น. กลับมาชุมชนบ้านเชียง เดินเล่นในชุมชน ก่อนจะไปชมบ้านเก่า “เฮือนไทพวน”
เฮือนไทพวนที่ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นี้ อดีตเคยเป็นพื้นที่หนึ่งที่ถูกขุดค้นและพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งครั้งที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จเยี่ยมชมงานขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อปี พ.ศ. 2515 นั้น ทั้งสองพระองค์ได้ขึ้นไปเยี่ยมชมบ้านไทพวน และทรงชื่นชมงานสถาปัตยกรรมของบ้านไทพวนที่น่าอยู่หลังนี้
17. 30.น. กลับไปยังบ้านพักโฮมสเตย์ เพื่อทำกิจกรรมทำอาหารร่วมกับเจ้าของบ้านโฮมเตย์ กับเมนู “ต้มไก่บ้านใส่ใบมะขามอ่อน” เริ่มจากช่วยคุณแม่เจ้าของบ้านเก็บใบชะมวง และร่วมด้วยช่วยทำถึงในครัว
18.30 น. ทานมื้อเย็นที่บ้านพักโฮมสเตย์ กับ เมนูอาหารที่มีส่วนได้ร่วมทำ
Day 2:
08.00 น. ทำบุญตักบาตรร่วมกับเจ้าของบ้าน ที่หน้าบ้านพัก
08.30 น. ทานอาหารเช้า (ข้าวต้มทรงเครื่อง ผลไม้ตามฤดูกาล)
09.30 น. เดินเล่นช็อปปิ้งก่อนกลับ ณ ถนนสายวัฒนธรรม บ้านเชียง
ของฝากและงานฝีมือของที่นี่ ประณีตงดงาม และเป็นเอกลักษณ์ให้คิดถึงบ้านเชียงได้เสมอ
จบทริป.
ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท ต่อ คน (สำหรับกลุ่ม 5 คน) 3,000 baht/person (for a group with 5 members)
ติดต่อ: 081 – 485 – 1864 (พ่อชุมพร Chompon วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง)
Facebook: วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านเชียง